วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)

            ประยุกตศิลป์ เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากความชื่นชมในคุณค่าของศิลปะโดยตรง เช่น ภาพหรือลดลายที่ใช้ตกแต่งอาคาร หรือเครื่องเรือน รูปทรง สีสัน ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ออกแบบให้เป็นที่พอใจของผู้ บริโภค หรือเครื่องใช้ไม่สอยที่ทำขึ้นด้วยฝีมือประณีต ศิลปะที่ประยุกต์เข้าไปในสิ่งที่ใช้ประโยชน์เหล่านี้ จะให้ความพอใจอัน เกิดจากความประณีตสวยงาม ความกลมกลืน แก่ประสาทสัมผัสควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย




งานประยุกต์ศิลป์
            ส่วนใหญ่คืองานศิลปะที่สนองประโยชน์ใช้สอย ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะงานประณีตศิลป์ และ หัตถกรรม เท่านั้น เพราะทั้ง สองประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นส่งของเครื่องใช้ นับตั้งแต่สิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันขึ้นไปจนถึงสิ่งฟุ่มเฟือยซึ่งสนองตอบในทาง ตกแต่งประดับประดามากกว่าจะมีความจำเป็นจริงๆ ในเรื่องนี้ถ้าเราหันกลับไปดูในยุคโบราณก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์ดึกดำบรรพ์มี ทั้งเครื่องมือหิน หนังสัตว์ และเครื่องประดับประดาที่เป็นลูกปัดร้อยเป็นพวงแขวนคอ ดังนั้น เครื่องประดับอาจใช้แทน เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ก็ได้




ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) แบ่งออกเป็น 5 แขนง คือ
            


1. พาณิชย์ศิลป์ (Commercial Art) เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อสนับสนุนกิจการค้า และการบริการ เพื่อ ให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายได้แก่ การออกแบบเครื่องหมายการค้า การออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบโฆษณา การออก แบบฉลากสินค้า การออกแบบจัดแสดงสินค้า ฯลฯ ผู้สร้างสรรค์งานพาณิชย์ศิลป์ เรียกว่า นักออกแบบ (Designer)


2. มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการตกแต่ง สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงาม และเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ได้แก่ การจัดตกแต่งภายในบ้าน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ การตกแต่งภายนอก การจัด สวน การจัดนิทรรศการ การจัดบอร์ด ป้ายนิเทศ การจัดแสดงสินค้า การแต่งกาย การแต่งหน้า การตกแต่งร้านค้า เป็นต้น ผู้สร้าง สรรค์งานมัณฑนศิลป์ เรียกว่า มัณฑนากร (Decorator)


3. อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ทั้งสิ่งก่อสร้างที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้ เช่น สถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการกำหนดผังบริเวณต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การ ใช้สอยตามต้องการ งานสถาปัตยกรรมเป็นแหล่งรวมของงานศิลปะทางกายภาพเกือบทุกชนิด และมักมีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์ของสังคมนั้น ๆ ในช่วงเวลานั้น ๆ 


4.การออกแบบ (Design) การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมอง เห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน การออกแบบมี 3 ประเภท คือ การออกแบบสถาปัตยกรรม การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบทางวิศวกรรม





วิจิตรศิลป์


วิจิตรศิลป์ (fine art)      
        หมายถึง งานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงดงาม แสดงสุนทรียภาพมากกว่าประโยชน์ใช้สอย โดยผลงานจะเน้นอารมณ์ความรู้สึก ความละเอียดอ่อน ซึ่งอาจเรียกทัศนศิลป์ประเภทนี้ว่า "ศิลปะบริสุทธิ์" (pure art) เนื่องจากมีจุดประสงค์เพื่อถ่ายทอดคุณค่าความงามเป็นหลัก 
       "ทัศนศิลป์" (visual art) เป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์ ซึ่่งเป็นศิลปะที่เน้นคุณค่าทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ  โดยความหมายของทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่มองเห็น หรือศิลปะที่สามารถสัมผัส รับรู้ ชื่นชมด้วยประสาทตา และสัมผัสจับต้องได้ ทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม 




1) จิตรกรรม (painting) 
          หมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการขีดเขียน ระบายสี โดยถ่ายทอดความงาม อารมณ์ความรู้สึก และสร้างสรรค์ลงบนพื้นระนาบรองรับ เช่น กระดาษ แผ่นไม้ ผ้าใบ ฝาผนัง เป็นต้น ลักษณะของจิตรกรรม เป็นแบบงาน 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว ส่วนความรู้สึกว่าภาพมีความตื้นลึก ระยะใกล้ไกลนั้นเกิดจากความสามารถของผู้เขียนภาพ ในการใช้กลวิธีนำทัศนธาตุทางศิลปะและเทคนิค อื่นๆมาสร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตา มองเห็นเป็นภาพสามมิติ เราเรียกผู้สร้างสรรค์งานการเขียนภาพหรือจิตรกรรมว่า "จิตรกร"  เนื่องจากจิตรกรรมมีลักษณะสองมิติ จึงรวม "การวาดเส้น" (drawing) ซึ่งเป็นงาน 2 มิติ มาอยู่ในประเภทจิคตรกรรมด้วย เพราะการวาดเส้นเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ด้วยเหตุผลที่ว่า งานจิตรกรรมส่วนมากจะต้องผ่านการร่างภาพมาก่อนแล้วจึงระบายสี
        








2) ประติมากรรม (sculpture) 

          หมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการปั้น การแกะสลัก การหล่อแบบ การเชื่อม ปะ ติด การทุบ ตี เคาะ โดยอาศัยดิน ไม้ หิน โลหะ แก้ว พลาสติก น้ำแข็ง และวัสดุอื่นๆ เปป็นสื่อแสดงทางความงามของรูปทรง ทางสาระ และทางอารมณ์ความรู้สึก ที่มีลักษณะเป็นรูป 3 มิติ








3) สถาปัตยกรรม (architecture)  
           หมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการออกแบบโครงสร้าง และการก่อสร้างด้วยกรรมวิธีการสร้างสรรค์แบบต่างๆ ให้เป็นรูปทรงทางความงามและทางประโยชน์ใช้สอย มีลักษณะสามมิติ เพื่อไว้เป็นที่อยู่อาศัย และปูชนียสถาน หรือเป็นอนุสาวรีย์ โดยผู้ออกแบบสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียกว่า "สถาปนิก"



วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

ศิลปะ(Art)




ศิลปะ (Art) 

ความหมายของศิลปะ 

                 ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ปัญญา ความคิดและหรือ ความงามทั้งนี้จะกล่าว โดยรวม ก็คือ ศิลปะ จะประกอบไปด้วย ส่วนประกอบ 3 ประการ คือ 

                 1. มีความงาม 
                 2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน 
                 3. มีความคิดสร้างสรรค์  

                 เหตุที่จำกัดวงอยู่เฉพาะผลิตผลของมนุษย์ อาจเป็นเพราะว่า ในบรรดา สัตว์โลกด้วยกัน มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สามารถ สร้างสื่อ ในการ ทำความเข้าใจร่วมกัน ดีที่สุด และการดำเนิน ชีวิตก็มีการพัฒนา ไปเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้ นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่มนุษย์ ยกย่องความเป็นสัตว์โลกของตน ว่าเป็นประเภทที่เหนือกว่า สัตว์โลกประเภทใด ดังนั้น รูปร่างลักษณะหรือ ผลงาน สร้างสรรค์ จากสิ่งต่าง ๆ ที่มิใช่ผลงานของมนุษย์ รวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มีความสลับซับซ้อน มีความสวยงาม มีรูปทรงแปลกตา แม้ มนุษย์ จะมีความชื่นชม แต่ก็ไม่ ยอมรับว่าเป็นผลงานศิลปะ แต่หากมนุษย์ ใช้ความบันดาลใจ จากสิ่งเหล่านั้น มาสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ถือว่าเป็นศิลปะ แต่จะเป็น ศิลปะบริสุทธิ์ (Fine Art) หรือศิลปประยุกต์ (Applied Art) หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการสร้าง 




คำนิยามของศิลปะ 
                  
                  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้นิยามของศิลปะว่า ศิลปะ คือ 
ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงซึ่งอารมณ์ สะเทือนใจ ให้ประจักษ์เห็น 
                   
                  พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2530 นิยามความหมายของศิลปะว่า ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่แสดงออก ในรูปลักษณ์ ต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา และกล่าวว่า ศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วิจิตรศิลป์ (Fine Art) กับประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) 

                  อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์ในยุคกรีกโบราณ นิยามความหมาย ของศิลปะว่า ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ 

                  ศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี (C. Feroci) ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้มาวางรากฐาน การศึกษาศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ได้นิยามความหมายของศิลปะว่า ศิลปะคืองาน อันเป็นความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายาม ด้วยมือและความคิด และยังมีคำนิยามของศิลปะที่น่าสนใจและถูกใช้อ้างอิง อย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน ที่ปรากฎตามหนังสือ และเอกสารต่าง ๆ ดังจะยกตัวอย่าง พอเป็นสังเขป ดังนี้ ศิลปะ คือ การเลียนแบบธรรมชาติ (Art is the imitation of nature) การตีความจากคำนิยามนี้ ธรรมชาติ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด แรงบันดาลใจ ให้แก่ ศิลปินในการสร้างงาน คำนิยามนี้ว่าศิลปะคือ การเลียนแบบธรรมชาติ เป็น คำนิยาม ที่ถือกันว่าเก่าแก่ที่สุดซึ่ง อริสโตเติล (Aristotle 384-322 B.C.) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นผู้ตั้งขึ้น เป็นการชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติอาจเปรียบได้ดังแม่บทสำคัญ ที่มีต่อศิลปะ ด้วยศิลปะ เป็นสิ่งสร้างโดยมนุษย์ และมนุษย์ก็ ถือกำเนิดมาท่ามกลาง ธรรมชาติ อีกทั้งบนเส้นทาง การดำเนินชีวิตมนุษย์ก็ผูกพันธ์อยู่กับธรรมชาติ จนไม่สามารถ แยกออกจากกันไดในทางศิลปะ มิใช่เป็นการบันทึก เลียนแบบเหมือนกระจกเงาหรือ ภาพถ่าย ซึ่งบันทึกสะท้อนทุกส่วน ที่อยู่ตรงหน้า แต่อาจจะเพิ่มเติม ตัดทอน หรืออาจจะใส่อารมณ์ ความรู้สึกเข้าไปด้วย ธรรมชาติเป็นแหล่งบันดาลใจที่สำคัญในการสร้างงานศิลปะของมนุษย์ ธรรมชาติ จึงอาจคล้ายแหล่งวิทยาการที่ยิ่งใหญ่ ของมวลมนุษย์ ในการศึกษา ค้นคว้าลอก เลียนและที่สำคัญคือ มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตอย่าง มีประสิทธิภาพ และจากการ สังเกต มนุษย์อาจได้พบกับความพึงพอใจในลักษณะ ที่แฝงเร้นอยู่กับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นสีสัน รูปร่าง บรรยากาศ ความแปลก ความงาม ฯลฯ และบางครั้งสังเกตเห็น ความเปลี่ยนแปลง ของธรรมชาติ ก่อให้เกิดความประทับใจ สะเทือนใจ เสียดายและความรู้สึกอื่น ๆ จนถึงความต้องการเป็น เจ้าของ จากความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้ เป็นแรงกระตุ้น ให้มนุษย์พยายาม ที่จะรักษาสภาพการณ์ นั้นไว้ให้คงอยู่ อาจด้วยความทรงจำ และถ่ายทอดความทรงจำนั้นด้วย สื่อและรูปแบบ ต่าง ๆ ในคำนิยามนี้ ศิลปะก็เปรียบได้ดัง เครื่องมือ ของศิลปิน ที่ใช้บันทึก เลียนแบบธรรมชาติไว้ แต่ในการเลียนแบบธรรมชาติ ในทางศิลปะ มิใช่การเลียนแบบเหมือนกระจกเงา หรือภาพถ่าย แต่อาจเพิ่มเติม ตัดทอน หรืออาจสอดแทรกอารมณ์ของศิลปินเข้าไปด้วย 




ศิลปะ คือ สื่อภาษาชนิดหนึ่ง (Art is The Language) 


               สื่อ เป็นตัวกลางที่สามารถชักนำเชื่อมโยงให้ถึงกัน หรือสามารถทำการ ติดต่อกันได้ 
               ภาษา หมายถึง เสียงหรือสื่อที่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ สรุป รวม แล้ว ทั้งสื่อและภาษาเป็นพฤติกรรม ที่แสดงออก เพื่อชักนำ เพื่อติดต่อให้ถึงกัน และเมื่อตีความหมายของคำนิยามที่ว่า ศิลปะ เป็นสิ่งหรือภาษาได้อย่างไร โดยนำศิลปะไปเปรียบเทียบกับสื่อที่เป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ใน ภาษาพูด เป็นลักษณะถ่ายทอดโดยใช้สื่อประเภทเสียง เปล่งออกมาเป็นคำ หรือประโยค เพื่อสื่อความหมายในสิ่งที่ผู้พูดต้อง การถ่ายทอดให้ผู้ฟังได้รับรู้ ส่วนภาษาเขียนเป็นลักษณะการ สื่อความหมาย โดยอาศัยสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ฯลฯ เพื่อโยง ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาเขียน และ ภาษาภาพ เป็นลักษณะ การถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการ ให้ผู้อื่นรับรู้ ให้ปรากฎในรูป แบบศิลปะอันอาจเป็นลักษณะ เส้น รูปร่าง รูปทรง ทิศทาง แสงเงา สี และอื่น ๆ ทั้งในลักษณะที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม ตัวอย่างเช่นในภาษาพูดสื่อความหมาย โดยกล่าวคำว่า ผีเสื้อ ผู้ฟัง ย่อมสามารถ รู้ความหมาย ด้วยการระลึกถึงลักษณะรูปร่าง สีสัน รายละเอียดของผีเสื้อ จากประสบการณ์เดิม ส่วนในภาษาเขียนก็ เช่นเดียวกันเขียนคำว่า ผีเสื้อ ผู้อ่านก็ต้องระลึกถึง ประสบการณ์เดิม มาประกอบในการ แปลความ เหมือนกัน และในทางศิลปะ อาจถ่ายทอด โดยการ วาดภาพผีเสื้อขึ้น ผู้ดูสามารถรับรู้และตีความ ได้ทันที โดยมิต้องใช้ความคิดจินตนาการในรูปแบบมาประกอบการตีความ ย่อมแสดง ได้ว่า ศิลปะสามารถจัดเข้าลักษณะสื่อ หรือภาษา ได้เช่นเดียวกัน และสื่อภาษา ที่ชัดเจน กว่าสื่อตัวอักษร หรือคำพูด ดังคำกล่าว ของนักปรัชญาจีนที่เคยกล่าวว่า รูปภาพ 1 รูปสามารถใช้แทนคำพูด ได้นับพันคำ การที่จะเข้าใจการสื่อความหมาย ไม่ว่าจะสื่อภาษา ชนิดใดก็ตาม ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน หรือภาษาภาพ ผู้ที่สามารถตีความหมาย หรือทำความเข้าใจได้ย่อม ต้องอาศัย การศึกษาเรียนรู้ในหลักการ ของภาษานั้น รวมทั้งการ ฝึกฝน หาประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อภาษา ชนิดนั้น ๆ มาเป็นพื้นฐาน ไว้โยงตีความหมาย ยิ่งมีพื้นฐานประสบการณ์มากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถเข้าใจในสื่อภาษานั้นเป็น อย่างดี




ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)              ประยุกตศิลป์ เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากความชื่นชมในคุณค่าของศิลปะโด...