วิจิตรศิลป์
วิจิตรศิลป์ (fine art)
หมายถึง งานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงดงาม แสดงสุนทรียภาพมากกว่าประโยชน์ใช้สอย โดยผลงานจะเน้นอารมณ์ความรู้สึก ความละเอียดอ่อน ซึ่งอาจเรียกทัศนศิลป์ประเภทนี้ว่า "ศิลปะบริสุทธิ์" (pure art) เนื่องจากมีจุดประสงค์เพื่อถ่ายทอดคุณค่าความงามเป็นหลัก
"ทัศนศิลป์" (visual art) เป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์ ซึ่่งเป็นศิลปะที่เน้นคุณค่าทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ โดยความหมายของทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่มองเห็น หรือศิลปะที่สามารถสัมผัส รับรู้ ชื่นชมด้วยประสาทตา และสัมผัสจับต้องได้ ทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม
1) จิตรกรรม (painting)
หมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการขีดเขียน ระบายสี โดยถ่ายทอดความงาม อารมณ์ความรู้สึก และสร้างสรรค์ลงบนพื้นระนาบรองรับ เช่น กระดาษ แผ่นไม้ ผ้าใบ ฝาผนัง เป็นต้น ลักษณะของจิตรกรรม เป็นแบบงาน 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว ส่วนความรู้สึกว่าภาพมีความตื้นลึก ระยะใกล้ไกลนั้นเกิดจากความสามารถของผู้เขียนภาพ ในการใช้กลวิธีนำทัศนธาตุทางศิลปะและเทคนิค อื่นๆมาสร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตา มองเห็นเป็นภาพสามมิติ เราเรียกผู้สร้างสรรค์งานการเขียนภาพหรือจิตรกรรมว่า "จิตรกร" เนื่องจากจิตรกรรมมีลักษณะสองมิติ จึงรวม "การวาดเส้น" (drawing) ซึ่งเป็นงาน 2 มิติ มาอยู่ในประเภทจิคตรกรรมด้วย เพราะการวาดเส้นเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ด้วยเหตุผลที่ว่า งานจิตรกรรมส่วนมากจะต้องผ่านการร่างภาพมาก่อนแล้วจึงระบายสี
2) ประติมากรรม (sculpture)
หมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการปั้น การแกะสลัก การหล่อแบบ การเชื่อม ปะ ติด การทุบ ตี เคาะ โดยอาศัยดิน ไม้ หิน โลหะ แก้ว พลาสติก น้ำแข็ง และวัสดุอื่นๆ เปป็นสื่อแสดงทางความงามของรูปทรง ทางสาระ และทางอารมณ์ความรู้สึก ที่มีลักษณะเป็นรูป 3 มิติ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น